Daily Archives: September 27, 2013

กฟผ.ระบายน้ำเขื่อนสิรินธรรับมืออิทธิพลพายุดีเปรสชั่น

นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นที่เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามและเคลื่อน ผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทยที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน กฟผ. หลายแห่งเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขื่อนสิรินธร ได้รับผลกระทบโดยตรง มีฝนตกหนักในพื้นที่ด้านเหนือเขื่อน ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนในปริมาณมากติดต่อกันหลายวัน จนระดับน้ำในเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเหลือความจุรองรับน้ำได้อีกไม่มาก

ทั้งนี้กฟผ.จำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มผ่านประตูระบายน้ำล้น (Spillway) ซึ่งการดำเนินการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น กฟผ. ได้แจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี อำเภอ และผู้นำชุมชนด้านท้ายเขื่อน ตลอดจนส่งเจ้าหน้าที่ออกสำรวจพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนและแจ้งเตือนก่อนเริ่ม เปิดบานประตูระบายน้ำล้น

สำหรับเขื่อนสิรินธร เริ่มเปิดบานประตูระบายน้ำล้น เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2556 เวลา 10.29 น. ซึ่งขณะนั้นมีปริมาณน้ำในเขื่อน 93%  มีช่องว่างในอ่างฯ เพียง 130 ล้าน ลบ.ม. หรือ 46 ซ.ม. กฟผ. จึงขยับบานประตูขึ้นทีละน้อย ซึ่งจากการติดตามระดับน้ำในอ่างฯ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงยังคงการเปิดบานประประตูระบายน้ำล้นเพื่อรักษาระดับน้ำในอ่างฯ ให้เป็นไปตามระดับน้ำควบคุม (Upper Rule Curve) โดย กฟผ. จำเป็นต้องสำรองช่องว่างในอ่างฯ สำหรับรับน้ำจากพายุดีเปรสชั่นที่กำลังก่อตัวในทะเล ซึ่งอาจมีทิศทางการเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยเหมือนลูกที่ผ่านมาได้

ปัจจุบันเขื่อนสิรินธร มีปริมาตรน้ำ 1,723 ล้าน ลบ.ม. หรือ 88%  มีช่องว่างสามารถรองรับน้ำได้อีก 244 ล้าน ลบ.ม.  ในขณะที่เขื่อนอื่นๆ ที่ได้รับอิทธิพล และมีปริมาณน้ำในอ่างฯ เพิ่มขึ้นเกิน 80%  ของความจุ คือ เขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ  83 % ของความจุ แต่ยังมีความจุรองรับน้ำได้อีกเกือบ 3,000 ล้าน ลบ.ม. จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง ด้านเขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ เพิ่มขึ้นเป็น 55%  ของความจุ และมีระดับน้ำในอ่างฯ สูงกว่าระดับน้ำควบคุม (Upper Rule Curve) กำลังปรับเพิ่มการระบายน้ำจากวันละ 3 ล้าน ลบ.ม. เป็นวันละ 10 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเตรียมรับสถานการณ์พายุดีเปรสชั่นที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเขื่อนอุบล รัตน์ได้ ส่วนเขื่อนอื่น ๆ สถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด

 

แหล่งข่าวจาก posttoday…

ขนาดพื้นที่ทาวน์เฮ้าส์ไม่ใหญ่มาก แต่ง่ายต่อการดูแลทำความสะอาด

ทาวน์เฮ้าส์เป็นบ้านที่ถูกจำกัดเรื่องการรับลม การเลือกทิศ เลือกตำแหน่งของบ้านจะนำมาซึ่งโชคลาภ จึงไม่ควรมองข้ามทิศ เพราะประเทศไทยของเรานั้นจะมีช่วงฤดูกาลที่รับลม ส่วนทิศที่รับลมดีที่สุดคือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน รับลม 6-9 เดือนต่อปี ส่วนที่เหลือทิศที่รับลมดี คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงฤดูหนาวของบ้านเรา การเลือกขนาดหน้าทาวน์เฮ้าส์ เลือกหน้ากว้าง 6 เมตร

ทาวน์เฮ้าส์ปัจจุบันมีให้เลือกขนาดหน้ากว้างตั้งแต่ 4 เมตร ถึง 6 เมตร แต่ควรเลือกที่มีขนาดหน้ากว้าง 6 เมตร ราคาอาจจะสูงขึ้นมาอีกนิดนึง แต่เพื่ออนาคตรองรับครอบครัวที่ขยายขึ้น ได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น มีห้องนอน 3 ห้อง จอดรถในบ้านได้ 2 คัน มีพื้นที่สำหรับทำครัว เป็นที่พักอาศัยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นอีกหนึ่งที่พักอาศัยที่ทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น เพราะราคาไม่สูง ขนาดพื้นที่ไม่ใหญ่มาก ง่ายต่อการดูแลทำความสะอาด แต่คงจัดสรรพื้นที่ใช้สอยได้ดีเยี่ยมเหมือนกับอยู่บ้านเดี่ยว

แต่ความจำกัดของทาวน์เฮ้าส์ก็คือ เป็นบ้านที่มีหลังคา กำแพง และหลังบ้านติดกัน หากเป็นบ้านที่อยู่ห้องกลางก็ไม่มีหน้าต่างซ้ายขวา ซึ่งรับลมจากหน้าบ้านและหลังบ้านเท่านั้น เนื่องจากทาวน์เฮ้าส์เป็นบ้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก พื้นที่ใช้สอยจำกัด ทำเลที่ตั้งจึงสำคัญจึงแนะนำเลือกซื้อทาวน์เฮ้าส์ห้องมุมอาจต้องเพิ่มเงินอีกซักนิด แต่ได้พื้นที่ด้านข้างเพิ่มทำให้มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น ลมพัดเข้าสะดวกนำมาซึ่งโชคลาภและพลังดีที่ไหลเวียนเข้าไม่ขาดสาย

การเลือกห้องมุมจะต้องเป็นห้องซ้ายมือที่มีถนนในซอยมีรถวิ่งเข้าทางซ้ายมือ หากถูกจำกัดด้วยงบประมาณจำเป็นต้องซื้อห้องกลางให้พิจารณาในเรื่องทิศในการรับลมและรับแสงแดด เพื่อไม่ทำให้บ้านร้อน และควรเลือกหลังที่อยู่ในซอยดีกว่าติดถนนใหญ่เพราะหลีกเลี่ยงมลพิษ หลีกเลี่ยงเสียงที่ดังรบกวนอยู่ตลอดเวลา และฝุ่นละอองที่จะเข้าบ้าน ตามหลักฮวงจุ้ยการเลือกบ้านอยู่ในตำแหน่งของถนนที่รถวิ่งเข้าถือว่าดี เพราะจะมีพลังไหลเวียนเข้า อยู่อาศัยแล้วจะจะมีแต่สิ่งดีเข้าบ้าน บ้านนั้นเจริญรุ่งเรือง Click Here!!!