อพาร์ตเมนต์มีแนวโน้มเสี่ยง หลังคอนโดมือสองเข้ามาแบ่งตลาด

จะเห็นได้ว่าถึงแม้สินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะธุรกิจอพาร์ตเมนต์จะยังไม่ส่งสัญญาณหนี้เน่าจนน่าเป็นกังวล แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสัญญาณความเสี่ยงในธุรกิจนี้มีการปรับตัวสูงขึ้น เช่น การเร่งตัวของราคาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ ก็จัดเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ ธปท. ประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าติดตาม ในขณะที่การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุปทานก็อาจนำไปสู่ภาวะปริมาณที่อยู่อาศัยล้นตลาดได้ ด้านผู้ประกอบการเองก็คงต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เช่น แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย และมองไปยังพฤติกรรมผู้บริโภคที่เกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในอนาคต เพื่อที่จะสามารถปรับกลยุทธ์รับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที

คอนโดมือสองหากพิจารณาลงไปในรายธุรกิจของภาคอสังหาริมทรัพย์จะพบว่าธุรกิจอาคารชุดมีสัดส่วนสินเชื่อที่ชำระตรงตามกำหนดสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภาคอสังหาริมทรัพย์ สะท้อนให้เห็นว่าสินเชื่อที่ให้กับธุรกิจคอนโด ยังมีคุณภาพดีกว่าภาพรวมอุตสาหกรรม แต่ในทางตรงกันข้ามธุรกิจอพาร์ตเมนต์กลับมีสินเชื่อดีอยู่ที่ระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งสัญญาณความเสี่ยงในกลุ่มธุรกิจดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้นยังพบอีกว่าสินเชื่อที่เริ่มส่งสัญญาณมีปัญหาแต่ยังไม่เป็น NPLs ของธุรกิจอพาร์ตเมนต์ มียอดค้างเป็นเกือบ 2 เท่าของยอด NPLs ซึ่งหมายความว่า มีสินเชื่อของธุรกิจอพาร์ตเมนต์จำนวนมากที่อาจพัฒนาไปเป็นหนี้เสียได้ในอนาคต

โดยสินเชื่อเหล่านี้เป็นสินเชื่อของผู้ประกอบการรายย่อยเกือบทั้งสิ้น ประเด็นดังกล่าวสะท้อนถึงปัญหาสภาพคล่องของผู้ประกอบการรายย่อย ที่แม้ยังมีความตั้งใจที่จะผ่อนชำระแต่ไม่สามารถหมุนเงินได้ทัน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจอพาร์ตเมนต์มีแนวโน้มเสี่ยงมากขึ้น http://www.bkkcitismart.com/Buy/Condominiumเป็นเพราะภายใต้ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มทรงตัว และอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ทำให้ค่างวดผ่อนรายเดือนไม่ต่างจากค่าเช่ามาก ผู้บริโภคจึงมีแรงจูงใจที่จะซื้อเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโดมิเนียมส่วนตัว มากกว่าที่จะเช่าอพาร์ตเมนต์เพื่อพักอาศัย